น.ส. พรทิพย์ สุมาลัย 5411204786 การศึกษาปฐมวัย

รูปภาพของฉัน
My name is Porntip Sumalai I am 20 year old I am study CRU

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 15 ( 27 กันยายน 2555 )

  • อาจารย์จ๋าให้แสดงความคิดเห็นของเราที่มีต่อการใช้ tablet กับเด็กประถม 1 โดยจะบรรยาย หรือ ทำเป็นmy mappingก็ได้ค่ะ แล้วแต่รูปแบบที่เราจะนำเสนอข้าพเจ้านำเสนอเป็นmy mappingค่ะ
  •  my mapping ข้อดีจะทำให้เห็นหัวข้อเด่นและประเด็นหลัก ข้อจำกัด ทักษะและการวิเคราะห์
  • ครูต้องเป็นผู้นำชุมชนตามหลักนโยบายของมหาวิทยาลัย ซึ่งครูต้องมีความรู้ในหลายๆด้านร่วมทั้งเรื่อง ICT ด้วย
  • Tablet มีข้อจำกัดในอนุบาล
  • 1. เด็กจะเล่นคนเดียว
  • 2. เด็กจะไม่มีการคิดวิเคราะห์ ไม่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง เด็กไม่ได้ใช้ประสาทสัมผัส ทั้ง 5
  • 3. เด็กไม่สามารถเห็น 360 องศา
  • ส่งงานปฎิทินอาจารย์จ๋า


  •                               

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 14 ( 19 กันยายน 2555 )

การเรียนการสอน
  •  อาจารย์ได้ตรวจดูบล็อกแต่ละคนว่าเรียบร้อยดีไหม
และอาจารย์ได้บอกให้แต่ละคนแก้ไขในจุดที่ยังไม่เรียบร้อย
  • อาจารย์ได้บอกให้ข้าพเจ้าแก้ไขดังหัวข้อต่อไปนี้
  •    1.ลิงก์รายชื่อเพื่อนมาให้ครบทุกคน
  •    2.ลิงก์งานวิจัยเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กมาเพิ่ม
  •    3.จัดรูปแบบหน้าให้สวยงาม และไม่ให้ลายตาจนเกินไป

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 13 ( 12 ก.ย. 55 )

  •  ออกไปนำเสนอเทคนิคการเล่านิทานแบบ เล่าไปตัดไป นิทานเรื่อง  ดอกไม้วิเศษ
  •  อาจารย์จ๋าสอนว่าการให้ความรู้เด็กต้องสอดคล้องกับพัฒนาการ และสอดคล้องกับการเรียนรู้


เข้าอบรมนิทานการเสริมสร้างจินตนาการและการเรียนรู้ ( 9 ก.ย. 55 )

  • วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน 2555 ข้าพเจ้าได้เข้าสัมมนาการศึกษาปฐมวัย เรื่อง นิทานการเสริมสร้างจินตนาการการเรียนรู้ ณ ห้องประชุม 2 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาครู คณะศึกษาศาสตร์
ประโยชน์ของนิทาน
นิทานมีคุณค่าและประโยชน์คือเป็นวิธีการให้ความรู้ที่จำทำให้เด็กสนใจเรียนรู้สามารถจดจำและกล้าแสดงออก ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน แก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็กจากตัวแบบในนิทานที่เด็กประทับใจและยังสร้างสมาธิ
เทคนิคการเล่านิทาน
1. ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อเรื่องก่อนที่จะเล่า
2. ควรเลือกคำง่ายๆที่เด็กนึกเป็นภาพได้
3. เนื้อเรื่องควรมีบทสนทนา เพราะฝึกทักษะทางภาษาให้กับเด็ก
4. เริ่มต้นเรื่องให้ดีเพื่อเรียกร้องความสนใจ ไม่ให้เด็กเบื่อ
5. การเล่าเรื่องควรใช้เสียงแบบสนทนากัน คือ ช้า ชัดเจน มีหนักเบา แต่ไม่ควรมีเออ อ้า
ถ่ายรูปร่วมกับอาจารย์ชัยฤกษ์ วิทยากรที่มาให้ความรู้ในวันนี้




วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 12 ( 5 ก.ย. 55 )

  • - อาจารย์จ๋าทบทวนสิ่งที่เรียนมา
  • - อาจารย์จ๋าสอนสื่อที่ให้เด็กเล่นในมุมประสบการณ์ ( การจัดสื่อ ) ศิลปะสร้างสรรค์ เคลื่อนไหวและจังหวะ
  • - กิจกรรมที่สอดคล้องกับเด็กในชีวิตประจำวัน เล่าข่าว สิ่งที่พบเห็น การเซ็นชื่อมาเรียน ของรักของหวง โฆษณา
  • - อาจารย์สอนเทคนิคการสอนภาษา
  • - แนวคิดพื้นฐานของการสอนภาษา
  • 1. ครูต้องทราบว่าเด็กของเราเรียนรู้อย่างไรและเด็กเรียนรู้ภาษาอย่างเป็นธรรมชาติอย่างไร
  • 2. ประสบการณ์ทางภาษาของเด็กเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
  • 3. เชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้ได้
  • 4. เด็กจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดถ้าเราสอน แบบwhole langage คือ
  • 4.1 สอนอย่างเป็นธรรมชาติ
  • 4.2 สอนอย่างมีความหมายต่อเด็ก
  • 4.3 สอนให้เด็กสามารถนำคำที่สอนไปได้
  • - เข้าหอประชุมร่วมกิจกรรมวันสถาปนามหาวิทยาลัย
สมุดจดบันทึกในการเรียน



วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 11 ( 29 ส.ค. 55 )

- แต่งคำขวัญรณรงค์การดื่มเหล้า
กลุ่มที่1 สุราเป็นยาเสพติด พวกเราอย่าหลงผิดคิดติดมันเลย (ส้ม ภา)
กลุ่มที่ 2เก็บเงินใส่ขวด ดีกว่าเจ็บปวดเพราะเป็นตับแข็ง( มะปราง)
กลุ่มที่ 3 สุราเป็นยาพิษ ดื่มนิดๆก็ติดใจ
ถ้าไม่อยากตายไว ต้องห่างไกลผิดสุรา( แอม อ้อม)
กลุ่มที่ 4 ดื่มสุราเหมือนฆ่าชีวิต คิดซักนิดก่อนจะดื่ม ( ฝน ริตา)
กลุ่มที่ 5 สุรานั้นทำลายชีวิต อย่าหลงผิดคิดไปลอง(แอน แป้ง)
กลุ่มที่ 6 สุราใช่มีค่า อย่าสรรหามันมาลอง เราควรคิดไตร่ตรอง อย่าได้ลองดื่มสุรา( กิ๊ฟ ซะห์)
กลุ่มที่ 7 สุราไม่ใช่พ่อ แล้วจะไปง้อมันทำไม ( แก้ม เบลล์)
กลุ่มที่ 8สุราน่ารังเกลียด ทำให้แครียดจนมึนงง เราควรจะต้องปลง อย่าไปหลงลองมันเลย ( ศิ หนูนา)
กลุ่มที่ 9สุราคือน้ำเมา จะทำเราเสียชีวิต จึงควรคิดให้ดี ก่อนจะติดจนตัวตาย ( ปูนิ่ม นุ่น)
กลุ่มที่ 10 ดื่มสุราวันละนิด แค่คิดก็เสี่ยงแล้ว (โอม โอ)
กลุ่มที่ 11 เสียเหงื่อเพื่อกีฬา ดีกว่าเสียเงินตรา ให้กับค่าเหล้า (แอน วาว)
กลุ่มที่ 12 สุรากินแล้วเมา กลับบ้านเก่าก่อนใครๆ (หลัน จ๋า)
กลุ่มที่ 13 ดื่มนมเพื่อสุขภาพ ดีกว่าดื่มน้ำเนาเพื่อมรณภาพ (สา กุ้ง)
กลุ่มที่ 14 สุราลองแล้วติด อย่าได้คิดติดมันเลย (ซาร่า แก้ว)
กลุ่มที่ 15รักชีวิต อย่าคิดดื่มสุรา ( กวาง เมย์)
กลุ่มที่ 16 สุรานั้นไม่ดี มีทั้งพิษและมีภัย ดื่มแล้วก็ติดใจ เงินรั่วไหลหมดกระเป๋า (บี รัตน์)

กลุ่มข้าพเจ้าแต่งว่า
สุราเป็นพิษ   ดื่มนิดนิดก็ติดใจ
ถ้าไม่อยากตายไว  ต้องห่างไกลผิดสุรา
- อาจารย์ให้ฟังเพลง เกาะสมุยแล้วบอกความรู้สึกที่เราได้จากเพลง สอดคล้องกับการแต่งเพลงให้เด็กปฐมวัยเราต้องคิดทำนอง คำพูดให้เหมาะสมที่เราต้องการจะสื่ออะไรให้เด็กรู้และต้องมีทำนองอย่างไรให้เด็กสนใจ สนุกสนาน   
- อาจารย์สอนการจัดประสบการณ์โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน เรื่องช้างน้องอัลเฟรด เขียนโดยนฤมล เนียมหอม
- อาจารย์พูดถึงเกมการศึกษา ภาพตัด  จับคู่ โดมิโน ลอตโต ความสัมพันธ์ของแกน
- อาจารย์ให้เลือกิจกรรมส่งเสริมทางภาษามา1เรื่องจากเว็บโทรทัศน์ครู



เข้าอบรมการจัดบอร์ด ( 26 ส.ค. 55 )

อบรมการจัดบอร์ด (ตัดกระดาษเป็นรูปดอกพุทธรักษา) และประดิษฐ์ใบไม้
อุปกรณ์
1. กระดาษสี
2. กาว
3. กรรไกร

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 10 ( 22 ส.ค. 55 )

อ.จ๋า การจัดกิจกรรมส่งเสริมประสบการณ์ภาษา
- การฟัง  นิทาน เพลง เรื่องราว ข่าว คำคล้องจอง ข้อตกลง คำสั่ง
- การอ่าน อ่านภาพ อ่านเรื่องราว
ตัวอย่างกิจกรรมการอ่าน อ่านภาพที่มีความหมายง่ายๆ สร้างเรื่องจากภาพ
- การพูด แนะนำตนเอง พูดบรรยาย เล่าประสบการณ์ แสดงความคิดเห็น ชี้แจง อธิบาย เล่านิทาน ร้องเพลง ท่องคำคล้องจอง
ตัวอย่างกิจกรรมการพูด เล่าเรื่องเสาร์ อาทิตย์ ประชาสัมพันธ์ ประกาศ โฆษณา ของรักของหวง เล่าข่าวเช้านี้
- การเขียน เขียนเล่าเรื่อง เขียนสัญลักษณ์ เขียนชื่อ เขียนภาพ

- ของรักของหวงของข้าพเจ้า คือแบงค์ 100 ที่ย่าให้ข้าพเจ้าไว้ครั้งล่าสุดก่อนที่ย่าของข้าพเจ้าจะเสียชีวิตข้าพเจ้าจะพับเเบงค์ 100 ใบนั้นใส่กระเป๋าตังค์ตลอดและจะไม่ใช้เพราะมันเป็นสิ่งสุดท้ายที่ข้าพเจ้าได้รับจากมือของย่า
-โฆษณาสิ่งของ ข้าพเจ้าโฆษณาพวงกุญแจปลาความพิเศษของมันคือมีไฟเมื่อเราอยู่ที่มืดสามารถกดตรงปลาก็จะมีไฟกระพริบทำให้เราหาของในที่มืดได้ค่ะ
- วาดภาพให้เพื่อนทาย ของข้าพวาดรูปผู้ชายกับคนพายเรือ
 
- วาดภาพให้สัมพันธ์กับเพื่อนจะเล่าเป็นนิทานของข้าพวาดภาพ ขวดน้ำ นิทานของกลุ่มข้าพเจ้าคือในวันหนึ่งมีกระต่ายตัวหนึ่งเดินมาพักใต้ต้นไม้และหิวน้ำจึงหยิบขวดน้ำมากิน
- สิ่งที่ข้าพเจ้าจดลงสมุดบันทึกกิจกรรมการเรียน
 - กลุ่มของข้าพเจ้าออกไปรายงานการสังเกตุพฤติกรรมเด็กปฐมวัย
 

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 9 ( 8 ส.ค. 55 )


ภาษา > ฟัง > พูด > อ่าน > เขียน

วันนี้เรียนเรื่อง ภาษา การใช้ปฏิทินเป็นสื่อ เพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ ในพัมนาการทั้้ง 4 คือ

อารมณ์-จิตใจ สังคม ร่างกาย และสติปัญญา

...อาจารย์จึงสั่งให้ทำสื่อที่ทำมาจากปฏิทินซึ่งเป็นสื่อกลางสำหรับการเรียนรู้ของเด็ก

ทำเป็นคำศัพท์ เติมคำ เพื่อให้เด็ก สามารถ อ่าน-เขียน ได้ 
 ( ขาดเรียน )

สัปดาห์ที่ 8 ( 1 ส.ค. 55 )

เป็นสัปดาห์ของการสอบกลางภาคไม่มีการเรียนการสอน

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 7 (25ก.ค.55)

-เพื่อนๆกลุ่ม1ออกไปนำเสนอการไปอ่านนิทาน big book ให้เด็กอายุ 6 ขวบฟัง

เด็กยังยึดตนเองเป็นสำคัญ เด็กอายุ 6 ขวบเริ่มมีเหตุผล

สิ่งที่ทำให้เด็กไม่อยากฟัง สื่อ เนื้อหาที่เด็กเคยฟังมาแล้ว

-กลุ่มของข้าพเจ้าออกไปนำเสนองานกลุ่ม นิทาน big book เรื่อง พระอาทิตย์ไปเที่ยว

สิ่งที่ต้องปรับปรุง

-การกล่าวสวัสดีอาจารย์

-การพูดเสียงเบาเกินไป

-การวิเคราะห์เด็กจะต้องให้มีความสอดคล้องกับพัมนาการของเด็ก

* สัปดาห์หน้า หาปฎิทินตั้งโต๊ะ 2 คนต่อ 1 ชิ้น หารูปวาดการ์ตูน

วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 6 (18 ก.ค.55)

-อาจารย์จ๋าสอนพัฒนาการตามลำดับขั้น

-โดยทั่วไปช่วงแรกเกิดเด็กจะเก็บประสบการณ์  2-4 ปี จะเริ่มพูดได้มากขึ้น

4-6 ปี พูดเป็นประโยคมีลักาณะประโยคมากขึ้น

- เพื่อนๆแต่ละกลุ่มออกไปรายงานการสังเกตพฤติกรรมเด็ก ( กลุ่มข้าพเจ้ามีปัญหาขัดข้องทางเทคนิคเปิดวีดีโอไม่ได้ )

- อาจารย์จ๋าสั่งงานกลุ่มชิ้นต่อไป กลุ่มข้าพเจ้าได้หนังสือเล่มใหญ่  อนุบาล 2

- ตอนไปเล่านิทานให้น้องฟังต้องบันทึกพฤติกรรมการทำงานระหว่างเรากับน้อง ถ่ายรูป และจดประโยชนืที่น้องพูดสื่อสารกับเรา สะท้อนการทำกิจกรรมมาด้วย

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 5 (11 ก.ค. 55)

  • การเรียนการสอน

  • -เพื่อนๆออกไปนำเสนองาน power point ที่ไปสังเกตุพฤติกรรมเด็กมาและวิเคราะห์พัฒนาการทางภาษาของเด็ก                                                                                                                                                 

  • -อาจารย์ให้คิดภาษาถิ่นคนละคำแล้วมาพูดให้เพื่อนๆฟังแล้วให้เพื่อนๆตอบว่าหมายความว่าอย่างไร

  • -อาจารย์ให้ร้องเพลงดังต่อนี้ แมงมุมลายตัวนั้น บ้านของฉัน อวัยวะของฉัน อย่าทิ้ง กำมือ ไก่เจี๊ยบ ไชโยปีใหม่ ดรงเรียนของเรา เป็นต้น

  • -อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ง กลุ่มละ 4 คน โดยให้แต่งเพลงแล้วคิดท่าทางประกอบเพลง

  • กลุ่มของข้าพเจ้าแต่งเพลง  อึ่งอ่าง

  • อึ่งอ่าง กระดิ๊กระเด๊าะ กระดิ๊กระเด๊าะ มารอน้ำฝน

  • อึ่งอ่าง กระดิ๊กระเด๊าะ กระดิ๊กระเด๊าะ อยู่บนใบบัว ซู่ซ่า ซู่ซ่า แล้วฝนก็ตกลงมา อึ่งอ่างดีใจ

 รูปการออกไปแสดงหน้าชั้นเรียน

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 4 ( 4 ก.ค.55 )

  • อาจารย์จ๋าสอนเรื่องการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กและได้อธิบายเป็น my map สรุปเป็นผังความคิด

  • อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 4 คน ไปสัมภาษณ์เด็กปฐมวัย ถ่ายวีดีโอมา 3 นาที

  • ต้องถามว่า ชื่ออะไร เรียนโรงเรียนอะไร อายุเท่าไร

  • สัมภาษณ์ยังไงก็ได้ให้รู้ถึงการพูด การใช้ภาษาของเด็ก

  • ทำ power point สรุปนำมาเสนอหน้าห้อง





ค้นคว้าเพิ่มเติม

การกำหนดจุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย        การกำหนดจุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กจึงควรกำหนดให้ครอบคลุมทั้งภาครับซึ่งหมายถึงภาษาที่เด็กใช้ในการทำความเข้าใจ และภาคส่งซึ่งหมายถึงภาษาที่เด็กใช้หรือแสดงออก (Wortham, 1996: 235) ทั้งนี้ จุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ด้านภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยในภาครับและภาคส่ง (Morrow, 1989: 51-52) สรุปได้ดังนี้

1. จุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษาภาครับ

    1.1 เด็กได้อยู่ในบรรยากาศที่มีการใช้ภาษา

    1.2 เด็กได้รับความพึงพอใจและความสนุกสนานผ่านทางภาษา

    1.3 เด็กมีโอกาสจำแนกเสียงที่ได้ยิน

    1.4 เด็กได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่พรั่งพร้อมไปด้วยการใช้คำใหม่ๆ

    1.5 เด็กมีโอกาสฟังและทำความเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด

    1.6 เด็กมีโอกาสเรียนรู้ที่จะทำตามคำแนะนำ หรือคำสั่ง

 2. จุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษาภาคส่ง

    2.1 เด็กมีโอกาสใช้ภาษาอย่างอิสระ ไม่ว่าจะอยู่ในพัฒนาการขั้นใดก็ตาม โดยได้รับกำลังใจ และการยอมรับนับถือต่อความต้องการในการสื่อสารของเด็กเอง

    2.2 เด็กได้รับการสนับสนุนให้ออกเสียงอย่างถูกต้อง

    2.3 เด็กมีโอกาสเรียนรู้คำศัพท์ที่ใช้เพิ่มเติม

    2.4 เด็กได้รับการสนับสนุนให้พูดประโยคที่สมบูรณ์ตามระดับพัฒนาการ

    2.5 เด็กได้รับการส่งเสริมให้พูดโดยใช้คำหลายๆ ประเภท ทั้งคำนาม คำกริยา คำคุณศัพท์ ใช้วลี หรือใช้ประโยค

    2.6 เด็กมีโอกาสพูดเพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ

    2.7 เด็กมีโอกาสใช้ภาษาทั้งในการแสดงความรู้สึกและความคิดเห็น อาจเป็นการใช้ภาษาเพื่อการแก้ปัญหา การตั้งสมมุติฐาน การสรุปหรือการทำนายเหตุการณ์

    2.8 เด็กมีโอกาสใช้ภาษาที่สัมพันธ์กับคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์ เช่น ใช้ภาษาในการอธิบายขนาด ปริมาณ เปรียบเทียบ จำแนก จัดหมวดหมู่ หรือแสดงเหตุผล

การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

        การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยควรจัดให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการพัฒนาเด็กปฐมวัย (DAP) ไม่ควรเป็นการสอนทักษะทางภาษาอย่างเป็นทางการ แต่ควรเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีความท้าทายให้เด็กเกิดความต้องการที่จะร่วมกิจกรรม และสามารถประสบความสำเร็จในการทำกิจกรรมด้วยตนเอง หรือมีผู้ใหญ่คอยชี้แนะ เป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการทางภาษาของเด็ก และช่วยให้เด็กก้าวไปสู่พัฒนาการทางภาษาในขั้นต่อไป ครูควรจัดกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อตอบสนองต่อความแตกต่างกันของเด็ก ตัวอย่างการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย มีดังต่อไปนี้

 1. การสนทนาข่าวและเหตุการณ์ (Morning Message)

        เป็นกิจกรรมที่เด็กและครูได้สนทนาร่วมกันในช่วงเริ่มต้นกิจกรรมของแต่ละวัน ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน และได้เปลี่ยนกันเป็นผู้พูดและผู้ฟัง ครูควรส่งเสริมให้เด็กมีมารยาทที่ดีในการพูดและการฟัง หากเด็กคนใดไม่ต้องการพูดก็ไม่ควรถูกบังคับให้พูด เพื่อให้เด็กที่ไม่มั่นใจในตนเองรู้สึกสบายใจที่จะมีส่วนร่วมในการฟังการสนทนา

หัวข้อที่ใช้สนทนาอาจเกี่ยวกับการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และเหตุการณ์พิเศษของแต่ละวัน เช่น วันนี้เราจะทำอะไรกันบ้าง จะมีใครมาที่ห้องเราบ้าง ฯลฯ เป็นข่าวสารจากเด็ก ซึ่งเด็กอาจเล่าเรื่องส่วนตัวของตนเอง หรือเล่าเกี่ยวกับสิ่งของที่ตนนำมา (Show & Tell) เด็กที่ได้เล่าเรื่องจะรู้สึกเสมือนว่าตนเองเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่ตนกำลังพูดอยู่ นับว่าเป็นการช่วยขยายประสบการณ์ให้แก่เด็กคนอื่นๆ ด้วย และเมื่อเด็กๆรู้ว่าแต่ละวันเขาสามารถเล่าเรื่องเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเพื่อนได้ เด็กจะเรียนรู้เกี่ยวกับการเตรียมเรื่องที่จะพูดไว้ล่วงหน้า หรือเป็นหัวข้อที่เด็กสนใจ ซึ่งเด็กๆจะพยายามหาข้อมูลมาให้มากที่สุดเท่าที่เขาจะทำได้ เด็กๆ อาจหาข้อมูลด้วยการพูดคุยกับคุณพ่อคุณแม่ สังเกตหรือทดลองด้วยตนเอง ฯลฯ

        การสนทนาเป็นวิธีการสำคัญและเป็นวิธีการหลักที่ครูจำเป็นต้องใช้ในการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาของเด็กปฐมวัย เพราะในขณะที่เด็กสนทนากับครู เด็กจะได้ยินแบบอย่างของการใช้ภาษาที่ถูกต้องเหมาะสม เมื่อเด็กสนทนากันเอง เด็กจะมีโอกาสฟังความคิดเห็นของผู้อื่น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ได้ยินคำศัพท์ใหม่ๆ ได้ทำความเข้าใจการพูดของเพื่อนจากสิ่งชี้แนะ (McGee and Richgels, 2000: 160) การที่เด็กได้เล่าเรื่องให้เพื่อนฟังทำให้เด็กรับรู้และเข้าใจเรื่องได้ดีขึ้น มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันมากขึ้น เด็กได้ใช้ภาษาบ่อยขึ้น เด็กจะรู้จักใช้คำถามถามเพื่อน รู้จักการหาข้อมูลไว้ตอบคำถาม เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และยังช่วยพัฒนาการยอมรับในสิ่งที่ผู้อื่นพูดอีกด้วย ระหว่างการสนทนา ครูควรมีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกในการสนทนา ถ้ามีผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่คนอื่นอยู่ด้วยก็ควรให้บุคคลเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของการสนทนา ไม่ควรมีบรรยากาศของการตัดสินว่าสิ่งที่เด็กพูดถูกหรือผิดเพื่อส่งเสริมให้เด็กต้องการมีส่วนร่วมในการสนทนาและติดตามหัวข้อที่สนทนาอย่างสม่ำเสมอ

 2. การอ่านออกเสียงให้เด็กฟัง (Reading Aloud)

        เป็นกิจกรรมที่ครูเลือกวรรณกรรมสำหรับเด็กที่ดีมาอ่านให้เด็กฟัง ครูควรจัดให้มีช่วงเวลาเฉพาะสำหรับการอ่านออกเสียงให้เด็กฟัง (Story Time) กิจกรรมนี้อาจจะจัดเป็นกิจกรรมกลุ่มย่อยหรือจัดสำหรับเด็กกลุ่มใหญ่ก็ได้ โดยครูเลือกหนังสือที่เด็กสนใจมาอ่านให้เด็กฟัง ครูควรอ่านชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ผู้วาดภาพประกอบ อ่านเนื้อเรื่องพร้อมกับชี้ข้อความขณะที่อ่าน เปิดโอกาสให้เด็กได้ถามคำถาม หรือสนทนาเกี่ยวกับตัวละคร หรือเรื่องราวในหนังสือ ครูอาจเชิญชวนให้เด็กคาดเดาเหตุการณ์ในเรื่องบ้าง และควรเตรียมข้อมูลที่ช่วยให้เด็กเข้าใจคำยากที่ปรากฎในเรื่อง ถามคำถามที่กระตุ้นให้เด็กคิดวิเคราะห์ และจัดกิจกรรมต่อเนื่องจากเรื่องที่อ่านให้เด็กเลือกทำตามความสนใจ เช่น เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ปรากฎในเรื่องในเด็กได้เล่นสมมุติ เตรียมภาพให้เด็กได้เรียงลำดับเรื่องราว เป็นต้น

        ช่วงเวลาที่ครูอ่านหนังสือให้เด็กฟังนี้ควรเป็นช่วงเวลาที่ทำให้เด็กรู้สึกอบอุ่น และมีความสุข ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูและเด็ก ครูควรอ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกวันเพื่อช่วยให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อการอ่าน และช่วยให้เด็กมีความรู้เกี่ยวกับการใช้หนังสือ การใช้สิ่งชี้แนะในการคาดคะเนและตรวจสอบการคาดคะเน

 3. การให้เด็กเล่าเรื่องซ้ำ (Story Retelling)

        เป็นกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจับใจความ เด็กปฐมวัยเรียนรู้การจับใจความด้วยการฟังนิทาน เพราะนิทานมีโครงสร้าง ลีลาในการเขียน และเรื่องราวที่เด็กคุ้นเคย เอื้อให้เด็กสามารถใช้ความรู้เดิมในการจับใจความจากเรื่องที่ฟังและดูภาพประกอบ เมื่อครูเล่านิทานให้เด็กฟังแล้ว ครูต้องถามคำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กคิดจับใจความสำคัญ ในขณะเดียวกันก็ต้องเป็นแบบอย่างของการคาดคะเน แปลความ ตีความ และตรวจสอบความเข้าใจ แล้วเก็บประเด็นสำคัญในการจับใจความ จากนั้นจึงเปิดโอกาสให้เด็กเล่าเรื่องให้ผู้อื่นฟัง โดยการเล่าเรื่องอาจเป็นกิจกรรมระหว่างครูกับเด็ก หรือเป็นกิจกรรมระหว่างเด็กกับเด็กด้วยกัน เพื่อให้เด็กเกิดแรงจูงใจในการเรียนและฝึกปฏิบัติในสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว

        เทคนิคในการสอนเล่านิทานแบบเล่าเรื่องซ้ำ ได้แก่ ก่อนเล่านิทานครูถามคำถามให้เด็กคาดคะเน และเชื่อมโยงประสบการณ์เดิม ขณะเล่านิทาน ครูถามคำถามให้เด็กตีความ ให้คาดคะเน ให้แปลความ และตรวจสอบความเข้าใจ หลังเล่านิทานจบควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ทบทวนเรื่องราวที่ได้ฟัง เช่น การทำแผนผังนิทาน หนังสือนิทาน บอร์ดนิทาน กล่องนิทาน ฉากนิทาน แผ่นพับนิทาน ภาพแขวนต่อเนื่อง การเชิดหุ่น ภาพตัดต่อนิทาน บทบาทสมมติ และกะบะนิทาน ทั้งนี้ ครูควรเสริมแรงอย่างเหมาะสมขณะเด็กเล่าเรื่องซ้ำให้ผู้อื่นฟังด้วย (อลิสา เพ็ชรรัตน์, 2539)

 4. การอ่านร่วมกัน (Shared Reading)

        เป็นกิจกรรมที่มีเครื่องมือหลัก หรือสื่อพื้นฐานคือหนังสือเล่มใหญ่ ซึ่งขนาดของตัวหนังสือใหญ่พอที่เด็กที่นั่งอยู่ข้างหลังมองเห็นคำหรือตัวหนังสือในแต่ละหน้า หนังสือเล่มใหญ่ที่เลือกมาใช้ควรเป็นวรรณกรรมเด็กที่เป็นที่คุ้นเคย และเป็นประเภททายได้

        ขั้นตอนของการอ่านร่วมกันเริ่มตั้งแต่การอภิปรายถึงเนื้อเรื่องของหนังสือที่จะอ่าน หรือนำสิ่งของที่สัมพันธ์กับเรื่องมานำเสนอ เพื่อช่วยให้เด็กเริ่มสนใจหนังสือที่จะอ่านและช่วยให้เด็กมีความรู้พื้นฐานในเรื่องที่จะอ่านด้วย อ่านหนังสือให้เด็กฟังทั้งเรื่องเพื่อให้เด็กสนใจ ชี้คำขณะที่อ่านเพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับตัวหนังสือ คำ หรือข้อความเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการอ่าน ให้เด็กสนุกกับส่วนที่ทายล่วงหน้าได้

        เมื่ออ่านร่วมกับเด็กหลายครั้งแล้วครูควรจัดกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ส่วนย่อยของข้อความที่เป็นประโยค วลี หรือคำ โดยการทำหน้ากากปิดตัวหนังสือเพื่อให้เด็กเห็นคำหรือวลีที่ต้องการเน้นให้ชัดขึ้นและให้เด็กที่เป็นอาสาสมัครอ่าน นอกจากทำหน้ากากแล้วครูอาจใช้กิจกรรมการเติมคำที่เจาะจงที่หายไป (Cloze) กิจกรรมนี้จะชวยให้เด็กเข้าใจได้ว่าข้อความหรือคำไม่ใช่รูปภาพ และเรียนรู้ว่าตัวหนังสือจะมีทิศทาง ซึ่งการเติมคำที่หายไปนี้อาจเป็นประเภททางเสียงและประเภททางตา หรือครูอาจใช้กิจกรรมการเน้นที่คำสำคัญด้วยการทำบัตรคำสำคัญไว้ให้เด็กนำไปเทียบกับคำในหนังสือตามความสนใจ หรืออาจทำบัตรภาพจากในหนังสือให้เด็กจับคู่ภาพกับเนื้อความในหนังสือก็ได้ (จูดิธ พอลลาด สลอทเธอร์, 2543)

        หลังจากที่ได้อ่านร่วมกันแล้ว ครูควรจัดกิจกรรมการสื่อภาษาและกิจกรรมการเล่นเกมภาษา เพื่อให้เด็กได้สื่อความหมายสิ่งที่ได้อ่าน กิจกรรมการสื่อภาษา ได้แก่ การทำหนังสือนิทาน การแสดงละคร การเล่าเรื่องซ้ำ การทำงานศิลปะ การทำภาพผนัง ฯลฯ โดยใช้หนังสือเล่มใหญ่เป็นสื่อ ส่วนกิจกรรมการเล่นเกมภาษา ได้แก่ เกมหาคำที่เหมือนกันในนิทาน เกมหาชื่อตัวละคร เกมพูดตามเครื่องหมายวรรคตอน เกมลำดับภาพและข้อความจากเรื่อง เป็นต้น (สุภัทรา คงเรือง, 2539)

 5. การสอนอ่านแบบชี้แนะ (Guided Reading)

        เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กมีความรู้พื้นฐาน ในด้านการอ่านอย่างเหมาะสมกับระดับความสามารถของเด็ก เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างครูกับเด็กเป็นรายบุคคลหรือทำงานกับเด็กเป็นกลุ่มย่อย 4 - 8 คน (Stewig and Simpson, 1995)

        ครูควรเลือกหนังสือที่มีระดับความยากเหมาะสมกับกลุ่มเด็ก โดยพิจารณาจากความซับซ้อนของเรื่องและภาษาที่ใช้ในนิทาน ลักษณะของประโยคที่เล่าเรื่อง และภาพประกอบ ที่ช่วยให้เด็กคาดเดาเรื่องและคำได้มาใช้ในการอ่านร่วมกับเด็ก กิจกรรมนี้มีเงื่อนไขสำคัญที่กลุ่มเด็กและครูต้องมีหนังสือที่ครูเลือกไว้ทุกคน เมื่อครูประเมินว่าเด็กต้องได้รับการเพิ่มพูนความรู้พื้นฐานเรื่องใด ครูจะตั้งวัตถุประสงค์ในเรื่องนั้น เพื่อนำมาสอดแทรกในการอ่านร่วมกับกลุ่มเด็ก

        ความรู้พื้นฐานในการอ่านของเด็ก เช่น ส่วนประกอบของหนังสือ การใช้หนังสือ การคาดเดาเรื่องราวจากภาพหรือโครงสร้างของประโยค การเชื่อมโยงเรื่องราวกับประสบการณ์เดิมของเด็ก การรู้จักคำใหม่ การเล่นกับเสียงของตัวอักษรหรือพยัญชนะต้นของคำ การคาดเดาคำใหม่จากภาพ และตัวอักษร ฯลฯ (Neuman and Bredekamp, 2000) ทั้งนี้ครูต้องกำหนดช่วงเวลาเฉพาะในการสอนอ่านแบบชี้แนะ ซึ่งในแต่ละสัปดาห์เด็กควรมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมนี้อย่างน้อย 1 ครั้ง สิ่งสำคัญในการสอนอ่านแบบชี้แนะคือ การที่ครูสอนทักษะย่อย ๆ นี้จะต้องไม่ทำมากเกินไปจนเสียอรรถรสของเรื่องที่อ่านด้วยกัน

6. การอ่านอิสระ (Independent Reading)

        เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเลือกอ่านตามความสนใจ สื่อที่ใช้ในการอ่านอาจเป็นหนังสือประเภทต่างๆ คำคล้องจอง เนื้อเพลง หรือสื่อต่างๆ เช่น ป้ายข้อตกลงต่างๆ ในห้องเรียน ป้ายประกาศเตือนความจำ คำแนะนำในการใช้และเก็บของเล่น คำขวัญ คำคล้องจองประจำมุม ป้ายสำรวจชื่อเด็กที่มาโรงเรียน ป้ายแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ ป้ายอวยพรวันเกิด รายการอาหารและของว่างประจำวัน ปฏิทิน รายงานอากาศประจำวัน และป้ายอวยพรวันเกิดเพื่อน เป็นต้น

        ครูควรจัดให้เด็กมีเวลาเลือกอ่านอย่างอิสระตามความสนใจ และอาจจัดทำบันทึกการอ่านของเด็ก โดยการให้เด็กเล่าหรือพูดคุยเรื่องที่อ่านให้ครูหรือเพื่อนฟัง ครูช่วยบันทึกสิ่งที่เด็กอ่าน หรืออาจให้เด็กจดชื่อหนังสือที่ตนอ่านลงในสมุดบันทึก

 7. การอ่านตามลำพัง (Sustained Silent Reading - SSR)

        วิธีการส่งเสริมการอ่านที่ดี คือการให้เด็กมีโอกาสในการอ่านจริงๆ ครูควรจัดให้มีช่วงเวลาเฉพาะที่เด็กทุกคนรวมทั้งครูเลือกหนังสือมาอ่านตามลำพัง ช่วงเวลานี้เด็กจะได้เลือกหนังสือที่ตนชื่นชอบหรือสนใจมาอ่าน แม้ว่าชื่อของกิจกรรมจะเป็นการอ่านเงียบๆ โดยไม่รบกวนผู้อื่น แต่ในทางปฏิบัติเด็กอาจพูดออกเสียงพึมพำระหว่างการอ่านบ้าง ครูไม่ควรบังคับให้ทุกคนเงียบสนิทระหว่างการอ่าน กิจกรรมนี้อาจใช้เวลาประมาณ 5-10 นาทีต่อวัน ควรเป็นเวลาที่เด็กมีอิสระในการเลือกอ่านโดยครูไม่ต้องมอบหมายงานต่อเนื่องจากการอ่านให้เด็กทำ (Stewig and Simpson, 1995: 216)

 8. การเขียนร่วมกัน (Shared Writing)

        เป็นกิจกรรมที่ครูเขียนร่วมกับเด็กโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เด็กใช้กระบวนการเขียนตั้งแต่การการตัดสินใจแสดงความคิดที่ประมวลไว้ออกมาเป็นภาษาเขียนให้ผู้อื่นรับรู้ด้วยการสร้างตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ สื่อความหมายที่ครอบคลุมความหมายที่ต้องการสื่อ โดยจัดเรียงตำแหน่งสิ่งที่เขียนจากซ้ายไปขวา และบนลงล่าง การเขียนร่วมกันทำให้เด็กรู้ว่าความคิดสามารถบันทึกไว้ด้วยข้อความได้ และทำให้เด็กเกิดทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการเขียน

        ในการเขียนร่วมกัน ครูอาจเริ่มต้นด้วยการเชิญชวนให้เด็กสนทนาเกี่ยวกับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นเนื้อหาที่เด็กริเริ่มและสัมพันธ์กับประสบการณ์จริงของเด็ก ครูแสดงแบบอย่างของการตัดสินใจถ่ายทอดความคิดเป็นข้อความหรือสัญลักษณ์โดยการกระตุ้นให้เด็กช่วยกันบอกสิ่งที่ต้องการสื่อความหมาย แล้วให้เด็กช่วยกันสรุปข้อความที่เด็กช่วยกันบอกให้กระทัดรัด เหมาะที่จะเขียน เพื่อให้เด็กจำข้อความนั้นได้ก่อนลงมือเขียน ให้ครูเป็นคนเขียนข้อความเอง เพื่อป้องกันไม่ให้มีการวิจารณ์เด็กที่เขียนผิดต่อหน้าเพื่อนและครู จนเด็กที่เขียนเสียกำลังใจ และไม่กล้าเขียนอีก ระหว่างที่เขียนควรหมั่นถามให้เด็กติดตามบอกให้ครูเขียน ควรเขียนให้เด็กเห็นลีลามือที่ถูกต้อง เขียนตัวหนังสือขนาดใหญ่พอที่เด็กจะเห็นทิศทางการเขียนที่ถูกต้อง ทั้งนี้ ลายมือที่ครูเขียนมีส่วนสำคัญในการเป็นแบบอย่างให้แก่เด็ก ครูจึงควรระวังเรื่องลายมือและลีลามือที่ถูกต้องสวยงาม เมื่อเขียนเสร็จแล้วจึงอ่านทวนให้เด็กฟัง อาจให้เด็กอ่านทวนอีกครั้ง และให้เด็กวาดภาพประกอบ (ภาวิณี แสนทวีสุข, 2538)

        ตัวอย่างกิจกรรมการเขียนร่วมกัน ได้แก่ กิจกรรมสำรวจเด็กมาโรงเรียน ซึ่งให้เด็กได้ลงชื่อมาโรงเรียนตามความสมัครใจ จากนั้นเมื่อถึงเวลาสำรวจรายชื่อเด็กและครูสามารถนำใบลงชื่อนี้มาใช้เขียนร่วมกันว่ามีเด็กมาโรงเรียนจำนวนเท่าไร หรือใครไม่มาโรงเรียนบ้าง กิจกรรมประกาศข่าว โดยการเปิดโอกาสให้เด็กหรือครูแจ้งข่าวสารที่ต้องการให้ทุกคนรับรู้ เมื่อครูเขียนตามที่เด็กบอกแล้วสามารถนำข้อความดังกล่าวมาติดประกาศ เป็นต้น

 9. การเขียนอิสระ (Independent Writing)

        เป็นกิจกรรมที่ที่เด็กริเริ่มเนื้อหาที่ต้องการสื่อความหมายอย่างอิสระในช่วงเวลาของกิจกรรมสร้างสรรค์และเล่นตามมุม เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กเขียนเพื่อสื่อความหมายตามความสนใจและความสมัครใจ เด็กเป็นผู้เลือกเนื้อหาในการทำกิจกรรม เช่น การเขียนถ่ายทอดความคิดที่ผลงานศิลปะและผลงานการต่อบล็อก การบันทึกชื่อนิทานที่อ่าน การเขียนเพื่อทำอุปกรณ์ประกอบการเล่นสมมุติ เช่น ใบสั่งยา เมนู ฯลฯ การบันทึกการสังเกตในมุมวิทยาศาสตร์

        ครูอาจเตรียมกิจกรรมให้เด็กได้เขียนอย่างมีความหมายโดยสัมพันธ์กับหน่วยการเรียน โดยใช้เนื้อหาจากหน่วยการเรียนมาบูรณาการกับการเขียนอิสระตามมุมประสบการณ์ให้เด็กได้เลือกทำ เช่น การพิมพ์ภาพมือและเท้าที่มุมศิลปะในหน่วยตัวเรา การทำเมนูอาหารที่มุมร้านอาหารในหน่วยอาหารดีมีประโยชน์ เป็นต้น (ภาวิณี แสนทวีสุข, 2538)




สัปดาห์ที่ 3 ( 27 มิถุนายน 2555 )


ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากมีกิจกรรมรับน้องมหาลัย


วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การเข้าเรียนครั้งแรก สัปดาห์ที่ 2 ( 20 มิถุนายน 2555 )


วันนี้ครูกับนักศึกษาทำข้อตกลงระหว่างกัน
ให้นักศึกษาแต่งตัวให้เป็นระเบียบ รองเท้าต้องหุ้มส้น สีดำ ไม่ต้องใส่ชุดเอก(สีชมพู)
ปกติเรียนที่ห้อง 441 ย้ายมาเป็นห้องคอมพิวเตอร์ อาคาร 2 ชั้น 3

สภาพอากาศ แอร์เย็นมาก

เนื้อหาที่เรียนในวันนี้ คุณครูให้นักศึกษาสร้าง Blog ของตัวเอง เป็นแฟ้มสะสมผลงานออนไลน์